ต่อยอดงานวิจัยไหมอีรี่ด้วยเทคโนโลยีสะอาด ผู้ประกอบการชี้ ตลาดโลกอ้าแขนรับ

0211255906

          ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ  ผอ.สกว. และ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์  รักษาการแทนอธิการบดี ม.เกษตรศาสตร์  ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ  “ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ระยะที่ 3” ณ อาคารสารนิเทศ ม.เกษตรศาสตร์  หลังจากโครงการในระยะที่ 2 ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2556 – 2558  ประสบความสำเร็จ  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการเลี้ยงไหมโดยใช้เทคโนโลยีสะอาด สู่การปฏิบัติจริงของกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็งกว่า 44 เครือข่าย 450 ครัวเรือน ครอบคลุม  28 จังหวัดในทุกภูมิภาค เกษตรกรสามารถผลิตรังไหมและดักแด้ส่งขายโรงงาน จนมีรายได้ประมาณ 6,000 บาทต่อรุ่นการเลี้ยง มีรายได้จากการปั่นเส้นด้ายไหมอีรี่ขาย  7,800 บาทต่อรุ่นการเลี้ยง  และมีรายได้จากการทอผ้าอีกขายประมาณ 17,000 บาทต่อรุ่นการเลี้ยง เกิดการสร้างงานสิ่งทอหัตถกรรมทั้งในระดับชุมชนและอุตสาหรรมให้กับชาวไร่มันสำปะหลัง ที่มีประมาณ 4 – 5 แสนครัวเรือนทั่วประเทศ สำหรับความร่วมมือในระยะที่ 3  (ปี 2559 -2561) จะมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อการเติบโตของไหมอีรี่ พัฒนาผลิตภัณฑ์   สีเขียว  (Green Products)  ซึ่ง ดร.ปาจรีย์ คิวเจริญวงษ์  กรรมการผู้จัดการ บริษัทสปัน ซิลค์ เวิลด์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบการด้านสิ่งทอชั้นนำของเมืองไทยชี้ว่า ตลาดโลกโดยเฉพาะออสเตรเลีย และอเมริกา มีความต้องการสิ่งทอกรีนพรอดักส์ อย่างไหมอีรี่สูง

0211255907

0211255908

 

งานสื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ชั้น 14 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17 – 21 ถ.พหลโยธิน สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ

http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=10108:2015-08-10-08-07-46&catid=44:2013-11-25-06-49-47&Itemid=369