สกสว. พร้อม 18 หน่วยงานที่ประชุมผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (ทพอ.) เตรียมพร้อมรับมือกับเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน และมีคุณภาพ หลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีก 20 ปี ข้างหน้า
เมื่อวันที่ วันที่ 27 มิถุนายน 2562 ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานการประชุมวิชาการ ที่ประชุมผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (ทอพ.) ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และการสร้างเครือข่าย ขยายผลองค์ความรู้ทางด้านสังคมผู้สูงอายุระหว่างองค์กรสมาชิก ผู้เข้าร่วมประชุม ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ผ่านการสัมมนาถ่ายทอดความรู้บนเวทีและข้อมูลผ่านการจัดนิทรรศการโดยมี ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาวิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประธานที่ประชุมผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (ทอพ.) กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์การประชุมวิชาการครั้งนี้
โอกาสนี้ สกสว.ได้ร่วมนำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสังคมสูงอายุ ประกอบด้วย เครื่องตรวจสุขภาพส่วนบุคคล (เครื่องวัดความดันและเบาหวาน) ของ ผศ.ดร. สุภาพ ชูพันธ์ นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะ และ ยาสีฟันสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผลงานวิจัยของ ผศ. ดร.พิชญอร ไหมสุทธิสกุล นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และคณะ มาร่วมจัดแสดงภายในงานวันนี้
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวในฐานะเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการครั้งนี้ว่า สมาชิก ทอพ.ทั้ง 18 หน่วยงาน ตระหนักว่าการก้าวเข้าสู้สังคมสูงวัยเป็นเมกะเทรนด์หรือพลวัตสำคัญที่สร้างผลกระทบในวงกว้างต่อทั้งสังคมโลกรวมถึงประเทศไทย จึงร่วมกันพัฒนาขับเคลื่อนเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยมาอย่างต่อเนื่องตามบทบาภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 2 ของภูมิภาคอาเซียนรองจากสิงคโปร์ รองจากสิงโปร์ที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete aged society) ในปี 2564 โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติประมาณการว่า ประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 13 ล้านคน สูงถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดและในปี 2583 หรืออีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของคนไทย ทั้งนี้ ผู้สูงอายุวัยปลายที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป จะมีมากถึง 3.5 ล้านคน ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องมีนโยบายรองรับสังคมผมสีดอกเลา หรือ Silver Society อย่างเป็นรูปธรรมรองรับ สังคงสูงวัยเต็มรูปแบบในอีก 20 ปีข้างหน้าที่กำลังจะมาถึง
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ
https://www.trf.or.th/trf-events-activities/13799-6th-tororpor-academic-conference-in-theme-of-silver-society