กินเจ VS กินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร
กินเจ VS กินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร ?
 

Jurairat N.

แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ

 

เข้าเทศกาลกินเจทีไร เราก็ต้องเริ่มเตรียมหาของกินมาตุนเอาไว้ที่บ้าน เตรียมถือศีลคิดดีพูดดี และทำตัวให้คุ้นชินกับการงดรับประทานเนื้อสัตว์ แต่การกินเจไม่ใช่เพียงแต่งดเนื้อสัตว์เท่านั้น เพราะกินเจ กับกินมังสวิรัติยังมีข้อแตกต่างอื่น ๆ ที่ควรทราบ

กินเจ

อาหารที่คนกินเจกินไม่ได้ แต่คนกินมังสวิรัติกินได้ ได้แก่

  • อาหารที่มาจากสัตว์ เช่น นมวัว ไข่ น้ำผึ้ง ชีส โยเกิร์ตจากนมวัว
  • ผักฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หอม (หอมใหญ่ หอมแดง ต้นหอม) หลักเกียว กุยช่าย และใบยาสูบ
  • ผักชี (จัดว่าเป็นผักฉุนมีกลิ่นแรง)
  • ช็อกโกแลต (หากไม่ใช่ดาร์กช็อกโกแลต 100% อาจมีส่วนผสมของนมวัว)

>> กินเจ อะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้บ้าง?

กินมังสวิรัติ

อาหารที่ทั้งคนกินเจ  และคนกินมังสวิรัติไม่สามารถกินได้ทั้งคู่ ได้แก่

  • เนื้อสัตว์ และอาหารที่มีส่วนผสมของสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ เช่น น้ำปลา (หมักจากปลา) กะปิ ปูอัด (มีเนื้อปลา)

มังสวิรัติ มีหลายประเภท ได้แก่

  1. มังสวิรัติ สามารถงดรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารที่มีสัตว์เป็นส่วนประกอบ แต่สามารถรับประทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้ เช่น นมวัว ไข่ไก่ โยเกิร์ตจากนมวัว ช็อกโกแลตนม เป็นต้น
  2. มังสวิรัติบริสุทธิ์ หรือวีแกน (Vegan) คือการรับประทานเฉพาะผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์จากพืชเท่านั้น รวมถึงสนับสนุนสินค้าที่ผลิตจากพืช เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อลดการเบียดเบียนสัตว์ให้มากที่สุด (แต่รับประทานผักฉุนได้ จึงยังไม่เคร่งเท่าการกินเจ)
  3. มังสวิรัติพืชสด (Raw Vegan) คือการเลือกรับประทานผักผลไม้สดที่ไม่ผ่านความร้อนในการปรุงให้สุก เพื่อรักษาคุณค่าทางสารอาหารเอาไว้อย่างเต็มเปี่ยม (บางกลุ่มเลือกรับประทานผลไม้ที่หลุดจากต้นตามธรรมชาติอีกด้วย
  4. มังสวิรัติแบบแมคโครไบโอติก (Macrobiotic Diet) คือการเลือกรับประทานผักผลไม้ที่ปลูกเองตามท้องถิ่น ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง หรือยากำจัดศัตรูพืช และไม่ได้งดเนื้อสัตว์ 100% แต่สามารถรับประทานเป็นรายสัปดาห์ได้ โดยเน้นเนื้อปลา อาหารทะเล ในปริมาณที่เหมาะสม

กินเจ กินมังสวิรัติอย่างไร ให้ได้โปรตีนอย่างเพียงพอ ?

อีกปัญหาหนึ่งที่คนที่งดรับประทานเนื้อสัตว์อาจต้องประสบพบเจอ คือการรับประทานอาหารประเภท “โปรตีน” ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงอยากแนะนำให้ผู้ที่อยู่ในช่วงกินเจ รวมถึงผู้ที่กินมังสวิรัติควรรับประทานโปรตีนจากแหล่งอาหารอื่น ๆ ให้เพียงพอด้วย โดยสามารถเน้นอาหารเหล่านี้ได้

  • ถั่วต่าง ๆ
  • เห็ด
  • โปรตีนเกษตร
  • ควินัว
  • เมล็ดเจีย
  • เต้าหู้
  • นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์
  • งาดำ งาขาว
  • เมล็ดทานตะวัน

ขอขอบคุณข้มมูลและภาพ

iStock, มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์,Gourmet&Cuisine และ https://www.sanook.com/health/17745/