ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึงแนวทางการเชื่อมโยงความรู้กับการพัฒนาเมืองว่า ที่ผ่านมา สกสว. หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เดิม ได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ที่จะนำมาพัฒนาคนและประเทศโดย โครงการพัฒนากลไกเชิงพื้นที่การพัฒนาเมืองที่ออกแบบเมืองอย่างชาญฉลาดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและสังคมท้องถิ่น Smart Growth Area-Based Collaborative เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ สกสว.ให้การสนับสนุนเพื่อนำองค์ความรู้พัฒนาประเทศ
โดยศึกษาและนำกลไกมาทดลองปฏิบัติการตามแนวทางการวิจัย ควบคู่กับการสร้างเครื่องที่จะนำไปใช้ในการวางแผน ออกแบบ และ การมีส่วนร่วมที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของไทย ที่สำคัญ คือ พื้นที่สามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของตน ตามทฤษฎี และ แนวคิดการพัฒนาสู่อนาคต หรือ Futures Studies (การศึกษาอนาคต) กับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และจะใช้ประโยชน์จากความรู้ที่สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
“ปัจจุบันอนาคตศึกษาได้รับความสนใจมากขึ้น อาจเพราะการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบสูง ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างความรู้มาใช้ขับเคลื่อน ให้เราตัดสินใจทำอะไรสักอย่างในอนาคต ยกตัวอย่าง การประชุมวิชาการผังเมืองครั้งที่ 6 กฎบัตรแห่งชาติกับการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจท้องถิ่น (National Charter for Urban and Local Economic Improvement) ในช่วงวันที่ 25-26 กันยายน 62 นี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างทางเลือกใหม่กระตุ่นการพัฒนาเศรษฐกิจระดับเมือง และระดับประเทศ” ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าว พร้อมยกตัวอย่าง ประเด็นที่ บริษัทพัฒนาเมือง ภาคีเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐ และ เอกชนจะได้ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน
ทั้งด้านการวางผังและการออกแบบเมืองตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth Principles) เกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบด้านพลังงาน และสภาพแวดล้อมระดับย่าน (LEED-Neighborhood Development Principles) เกณฑ์การออกแบบเมือง Form-Based Codes พร้อมกับการสร้างกลไกข้อตกลงร่วมกันของสังคม (Social Collaboration-SC) เพื่อทดสอบการวางแผนปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ถือเป็นความหวังให้เกิดการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ (New Urban Development Platform-NUDP) ผสมผสำนกับกลไกการบริหารจัดการเมืองที่ดำเนินการโดยเครือข่ายบริษัทพัฒนาเมือง (City Development Network-CDN) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Government Organization-LGO) สถาบันการศึกษา นำไปสู่รูปแบบการพัฒนาเมืองที่ได้มาตรฐานทางกายภาพ และ มีศักยภาพในการยกระดับเศรษฐกิจให้ยั่งยืน ภานใต้ความร่วมมือที่ว่าด้วยกฎบัตร (National Charter)
ด้าน การจัดทำกฎบัตร (City Charter) เป็นกลไกการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจ โดยได้พัฒนาแพลตฟอร์ม กฎบัตร (Thailand Charter Platform) เป็นการเฉพาะสำหรับประเทศไทย มีค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดตามเกณฑ์ มาตรฐานและมีวิธีปฏิบัติทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นหลักฐานสนับสนุน ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ร่วมกัน ทั้ง 6 ประเด็น อาทิ การฟื้นฟูระบบกายภาพของเมือง NUDP จะนำไปสู่การปรับปรุงฟื้นฟูเมือง โครงสร้างพื้นฐาน และ โครงสร้างทางธรรมชาติ ที่สร้างความสมดุลของการใช้ประโยชน์ทรัพยากร เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต โดยสามารถพิศูจน์ได้ว่า ทุกหน่วยการใช้ประโยชน์ที่ดินตองสร้างเสริมมูลค่าและคุณค่า แก่ประชากร เมือง และโลก
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมประชากร NUDP มีแนวโน้มจะส่งผลให้พฤติกรรมการลงทุนมีการคำนึงถึง สภาพสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการลงทุนเศรษฐกิจสีเขียวที่กระตุ้นด้วยกฎหมายและนโยบายสาธารณะ หรือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมการบริโภคที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
อย่างไรก็ดีกระบวนการพัฒนากฎบัตร เป็นข้อตกลงเบื้องต้นของความร่วมมือในการสนับสนุน และร่วมดำเนินการที่จะขับเคลื่อนการยกระดับเศรษฐกิจและการพัฒนาทางกายภาพ ตามกรอบนโยบายกฎบัตร ทั้ง 6 ด้าน ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ของกฎบัตรในปี 2572 ซึ่งการขับเคลื่อน การดำเนินการที่เกิดขึ้น จะเป็นต้นแบบที่สำคัญในการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาเมืองอื่นในทุกมิติ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้ง ภายในภายนอกจังหวัด ให้เกิดการพัฒนาที่ยังยืน
ที่สำคัญไปกว่านั้น กฎบัตร ได้กำหนดให้มีการพัฒนาจังหวัดต่างๆที่เข้าร่วมโครงการเป็นเมืองไมซ์และเมืองเขียว ซึ่งเป็นกลไกการออกแบบยุทธศาสตร์เมืองที่สอดคล้องกับรูปแบบการพัฒนาแบบใหม่ ให้เติบโตอย่างชาญฉลาด ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงมีพระราชดำรัสว่า “ต้องระเบิดจากข้างใน” นั่นหมายความว่า ต้องมุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้คนและครอบครัวในชุมชนที่เข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำความเจริญจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนและหมู่บ้าน ที่หลายชุมชนยังไม่ได้เตรียมความพร้อม จึงอาจไม่สารถปรับตัวได้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลง
งานเดียวกันมีการเสวนา เพื่อแลกเปลี่ยน การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ ความหวังให้เกิดการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ (New Urban Development Platform-NUDP) รูปแบบการพัฒนาเมืองที่ได้มาตรฐานทางกายภาพ และ มีศักยภาพในการยกระดับเศรษฐกิจให้ยั่งยืน และ ปาฐกถา เรื่อง กฎบัตรกับการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่เมืองนานาชาติ และ กฎบัตรกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สำหรับ การประชุมวิชาการ และ ความร่วมมือครั้งต่อไป ในวันที่ 4 ตุลาคม 2562 ที่จังหวัดนครสวรรค์