ซึ่งอาคารบางลักษณะอาจมีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว เช่น ตึกแถวที่มีลักษณะเสาเล็กแต่คานใหญ่ อาคารพื้นท้องเรียบไร้คาน อาคารสูงที่มีลักษณะไม่สมมาตรหรือที่ชั้นล่างเปิดโล่ง อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ข้อต่อไม่แข็งแรง อาคารที่ทำการต่อเติมและทำทางเดินเชื่อมต่อกัน ดังนั้นเพื่อให้ความเกิดความปลอดภัย จึงควรเตรียมความพร้อมรับมือโครงสร้างอาคารให้แข็งแรง โดยอาคารที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักความต้านทานความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ที่เริ่มใช้บังคับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา และวิศวกรผู้ออกแบบจะต้องใช้มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหวที่ออกโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.1302) ส่วนอาคารเก่าที่ก่อสร้างก่อนปี 2550 ต้องประเมินอาคารเพื่อตรวจสอบสมรรถนะในการต้านแผ่นดินไหว และหาทางเสริมความแข็งแรงอาคารในกรณีที่ตรวจพบว่าอาคารไม่แข็งแรงพอ ซึ่งการเสริมความแข็งแรงอาคารทำได้หลายวิธี”
ด้าน ผศ. ดร. ภาสกร ปนานนท์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้ส่งทีมวิจัยลงพื้นที่ไปดำเนินการติดตั้งเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวในบริเวณใกล้เคียงการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ในพื้นที่จังหวัดน่าน จำนวน 4 สถานี เพื่อติดตามการเกิดอาฟเตอร์ช็อค กล่าวว่า พบการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กจำนวนมากในพื้นที่รอบ ๆ ศูนย์กลางแผ่นดินไหว และกำลังศึกษากลไกลการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้เพื่อใช้ในการประเมินผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มีต่อรอยเลื่อนมีพลังในบริเวณใกล้เคียงในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อไป เพื่อช่วยสนับสนุนการวางแผนลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อไปในอนาคต
สำหรับแนวทางการตรวจสอบอาคารและสิ่งปลูกสร้างหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว นายวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์ นายกสมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร เผยว่าต้องตรวจสอบ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ
https://www.tsri.or.th/th/news/detail/425