วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดการอบรมเรื่อง “แนวทางและวิธีการกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ด้วย Objectives and Key Results (OKRs)” ให้กับบุคลากรในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆมีความรู้และเข้าใจถึงหลักการใช้เครื่องมือ OKRs ที่สามารถนำไปสู่การวางแผนงานวิจัยอย่างมีศักยภาพ
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. ด้านการพัฒนาระบบ ววน. และเครือข่าย กล่าวว่า ปัจจุบันมีการเกิดขึ้นของกองทุนสงเสริมวิทยาศาสตร วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน วนน.) ที่มีหน้าที่สงเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศดานวิทยาศาสตร เทคโนโลยี สังคมศาสตร มนุษยศาสตรและสหวิทยาการ โดยตาม พ.ร.บ. การสงเสริมวิทยาศาสตร การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ระบุใน ม.17(2) ว่าคําของบประมาณ เพื่อโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร เทคโนโลยี และโครงการวิจัยและนวัตกรรม ใหเสนอตอ คณะกรรมการสงเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เพื่อให้ผ่านการพิจารณาและจัดสรรผ่านกองทุน ววน. โดยงบประมาณ ววน. ที่ผานการพิจารณาจากรัฐสภาฯ สําหรับปงบประมาณ 2563 จัดสรรตรงไปที่หนวยงาน 11,513 ล้านบาท (47.8%) จัดสรรผานกองทุน ววน. 12,555 ล้านบาท (52.2%) รวม 24,068 ล้านบาท โดยหน่วยงานที่ยื่นคำของบประมาณ ต้องกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน หรือ Objectives and Key Results (OKRs) ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ดังนั้นการทำความเข้าใจเครื่องมือดังกล่าวจะทำให้หน่วยงานในระบบ ววน.ของประเทศวางแผนการทำงานของตนได้อย่างมีศักภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยแนวคิดการจัดทํา OKRs ของหนวยงานในระบบ ววน. วัดผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินงานของหนวยงานในระบบ ววน. คือ
ศาสตราจารย์ ดร. นภดล ร่มโพธิ์ วิทยากรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลถึง “Objectives and Key Results (OKRs)” ว่าที่จริงแล้วเรื่อง OKRs ไม่ใช่เรื่องใหม่ มาจากแนวคิดเรื่อง MBO หรือ Management by Objectives ตั้งแต่ปี 1954 ซึ่งเป็นการบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก สาเหตุหลักที่ OKRs ได้รับความสนใจอีกครั้งเกิดจากในปี ค.ศ. 2000 บริษัทกูเกิล (Google) เอา OKRs มาใช้ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเครื่องมือที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้ในหน่วยงานเอกชนหรือหน่วยงานด้านเทคโนโลยีเท่านั้น
โดย OKRs มาจากคำว่า Objectives and Key Results คือ เป็นระบบบริหารจัดการที่เน้นเรื่องการตั้งเป้าหมายและการติดตามผลอย่างต่อเนื่องในสิ่งที่สำคัญโดยสร้างจากแรงจูงใจภายใน โดย “O” มาจาก Objectives คือ วัตถุประสงค์หลักเป็นการบอกจุดมุ่งหมายของหน่วยงาน (What) และ “K” มาจาก Key Results คือ ผลลัพธ์หลัก เป็นการบอกว่าจะทราบได้อย่างไรว่าเราบรรลุจุดมุ่งหมาย นั้น (How) โดยลักษณะสำคัญของ OKRs มีจุดเน้น 4 อย่าง คือ
ข้อแนะนำในการกำหนด “Objective” หรือวัตถุประสงค์ คือ ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ควรมีจำนวน ประมาณ 3-5 ข้อเท่านั้น ควรเป็นข้อความที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับเรา สามารถระบุได้ชัดเจนว่า “Objective” ของเรามีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในขั้นที่สูงขึ้นไปอย่างไร ส่วนการสร้าง Key Results นั้นเป็นการวัดวัตถุประสงค์ที่เราสร้างขึ้นแต่ละข้อนั้น จะทราบได้อย่างไรว่าเราประสบความสำเร็จหรือเราอยู่ตรงไหนแล้ว Key results มักจะเป็นตัววัดในเชิงปริมาณตัวเลขที่ชัดเจน หรือบอกว่าจะทำอะไรให้เสร็จเมื่อไหร่ ยกตัวอย่างการออกแบบ OKRs ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเช่น “Objective” คือการเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นผู้ประกอบการ Key Results จำนวนสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้นจากนักศึกษา 50 สตาร์ทอัพ เป็นต้น โดยทั่วไปเราจะมี Key Results ไม่เกิน 3 - 5 ข้อต่อวัตถุประสงค์ Objective 1 ข้อ ทั้งนี้ข้อสังเกตสำคัญ คือ Objective ที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ควรจะทำให้เรารู้สึกท้าทายและอยากที่จะทำ ปัญหาในการนำ OKRs ไปใช้ของหน่วยงานที่ผ่านมาคือ ผู้บริหารและพนักงานไม่เข้าใจในแนวคิด OKRs จึงเกิดแรงต่อต้านหรือไม่ให้ความสนใจ ตั้งเป้าหมายไม่ท้าทาย ตั้ง Objective ที่เป็นงานทั่วๆ ไป ที่ทำได้สำเร็จอยู่แล้ว รวมถึง Objective ไม่สอดคล้องกันในองค์กร Key Results น้อยหรือมากจนเกินไป และไม่สอดคล้องกับ Objective เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ
https://www.tsri.or.th/th/news/detail/แนวทางและวิธีการกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนด้วย-OKRs