ยุววิจัย เป็นโครงการวิจัยที่ให้เด็กและเยาวชน ศึกษาเรื่องราว ที่นักวิจัยผู้ใหญ่ให้ความรู้ แนวทาง หลักคิดอย่างมีเหตุมีผล สนับสนุน อำนวยความสะดวก ให้เครื่องมือ การจัดการ เพื่อให้ทำงานได้ง่าย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำโครงการยุววิจัยหลายปีแล้ว โดยให้เด็กคิดงานวิจัยในเรื่องที่ไม่ใหญ่โตนัก มีนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เป็นที่ปรึกษา คล้ายกับโครงงานของเด็ก
ขณะเดียวกัน สกว. ก็มีงานวิจัยที่ พ.อ.รศ.ดร.สุรัตน์ เลิศล้ำ อาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นหัวหน้าโครงการ ศึกษาการเชื่อมโยงของวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและอารยธรรมโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและคาบสมุทรมลายู ที่ทำต่อเนื่องมาหลายปี
ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ มากมาย ได้เห็นภาพกว้างของความสัมพันธ์ระดับภูมิภาคตามแนวแกนระเบียงวัฒนธรรมเหนือ ใต้และแกนระเบียงวัฒนธรรมตะวันออก ตะวันตก เห็นการกระจายตัวของวัฒนธรรมแต่ละสมัย การพัฒนาการของคมนาคม ขนส่งและอุตสาหกรรมโบราณ ซึ่งเป็นการเปิดหน้าต่างความรู้จากหลักฐานวัตถุอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ได้แก่ พบแหล่งตัดหินโบราณ ในเขตอุทยานแห่งชาติตาพระยา ศาสนสถานขอมโบราณในพื้นที่กับปราสาทบันทายชมาร์ ซึ่งเป็นปราสาทขอมโบราณที่สำคัญที่สุดทางตะวันตกของเมืองพระนคร ทั้งได้พบเส้นทางนำหินจากแหล่งตัดไปยังพื้นที่ปราสาทพบโบราณวัตถุที่สะท้อน การทำกิจกรรมสมัยโบราณ ทั้งการทำที่อยู่อาศัย การตีเหล็ก และกิจกรรมประเพณี การปลงศพ การพบหลักฐานลูกปัดกินอา-เกด ทำให้วิเคราะห์ลึกลงถึงอายุเทียบเคียงแหล่งโบราณคดีอื่นได้ว่าน่าจะมี อายุ 2,000-1,800 ปี
ความรู้ใหม่เหล่านี้ กรมศิลปากรนำไปใช้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก เส้นทางอารยธรรมขอม พิมาย พนมรุ้ง เมืองต่ำ กระทรวงวัฒนธรรมต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัฒนธรรม เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ใช้จัดนิทรรศการ ที่พิพิธภัณฑ์เมืองการศึกษาพบความสอดคล้องกับการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนร่วม สมัยในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบบนพื้นที่คาบสมุทรมลายู โดยประชากรในสมัยเหล็กมีความเกี่ยวข้องทางการค้าทางทะเลจากภาคใต้ขึ้นไปทาง เหนือแถบ จ.ราชบุรี จ.สุพรรณบุรี และนครปฐม โดยได้พบเชิงเทียนสำริด ลูกปัดรูปสิงโต ที่บ้านดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นวัตถุต่างถิ่นที่จะพบในแหล่งที่เกี่ยวข้องการค้าทางทะเลอย่างจริง จัง
คณะวิจัยได้นำความรู้ไปเผยแพร่ในรูปกิจกรรมเยาวชนไทย–กัมพูชา บริเวณปราสาทสด๊กก๊กธม อ.โคกสูง จ.สระแก้ว และแหล่งตัดหินโบราณ ที่ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เมื่อสองปีก่อน เป็นที่สนใจ จึงขยายผลไปสู่โครงการยุววิจัยอาเซียน (ไทย-กัมพูชา) ระยะที่ 1 มีโรงเรียนเข้าร่วม 4 แห่ง ของประเทศไทย 2 แห่ง คือ โรงเรียนทัพพระยาพิทยา อ.โคกสูง จ.สระแก้ว โรงเรียนสูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา จาก ประเทศกัมพูชา 2 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยบันทายชมาร์ จ.บันเตียนเมียนเจย และวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล จ.กำปงธม ประเทศกัมพูชา โรงเรียนละ 10 คน
แม้จะเป็นงานวิจัยที่ทำโดยเด็กนักเรียนมัธยม แต่ได้ผลงานการค้นพบทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่ โดยโรงเรียนสูงเนิน พบเส้นทางโบราณ บริเวณเมืองเสมา เยาวชนโรงเรียนทัพพระยา พบปราสาทเขมรโบราณ ใน อ.ตาพระยา ส่วนเยาวชนของวิทยาลัยบันทายชมาร์ ก็ได้พบแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในเขตเมืองบันทายชมาร์กระนั้นก็ดี สิ่งที่ผู้ใหญ่คาดหวังสำหรับโครงการ อยู่ที่การพัฒนาความสัมพันธ์เยาวชนไทย–กัมพูชาในเชิงการศึกษาวิจัยร่วมกัน แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจทางวัฒนธรรมท้องถิ่น สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีท้องถิ่น ซึ่งมีรากฐานร่วมกันมาแต่โบราณสร้างความตระหนักและรักในแหล่งโบราณสถานแก่ ชาวบ้านได้ปัญหาแบ่งเขาแบ่งเรา เพราะเส้นเขตแดนภูมิศาสตร์รัฐชาติ ก็ควรจะลดลงในวันอนาคตเพราะวันข้างหน้า เยาวชนทั้ง 2 ประเทศ ที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ต่างก็เข้าใจแล้วว่า แท้ที่จริง เรามาจากรากเหง้าเดียวกัน มีทรัพย์สินวัฒนธรรม เป็นมรดกร่วมกันไม่ต้องทะเลาะกันด้วยสมบัติที่บรรพบุรุษของทั้งสองประเทศ สร้างสรรค์ไว้.