งานวิจัยพบควันบุหรี่เต็มสนามบิน

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2556 เวลา 15:17 น.

นักวิจัยชี้ควันบุหรี่เต็มสนามบิน ระบุสูงกว่าสหรัฐฯ 4 เท่า จี้ สธ.ออกประกาศคุม พร้อมร่อนหนังสือถึง รมว.คมนาคม เปิดไฟเขียวให้ สธ. ยัน ไม่กระทบนักท่องเที่ยว

วันนี้ ( 7 พ.ค.) ที่แรงแรมเดอะสุโกศล นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กล่าวในงานแถลงข่าวเรื่อง“ควันบุหรี่มรณะเต็มสุวรรณภูมิ เร่งรัฐประกาศการะทรวงด่วน” ว่า ตามกฎหมายแล้วในท่าอากาศยานนานาชาติจะอนุโลมให้มีห้องพักสูบบุหรี่ได้ แต่ถ้าเป็นห้องผู้โดยสารภายในประเทศจะต้องเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่เ หากพบว่ามีการเปิดให้สูบถือว่าผิดกฎหมายมีโทษปรับ 2 หมื่นบาท ดังนั้นจะทำหนังสือถึง รมว.สาธารณสุข เพื่อขอให้ออกประกาศให้ท่าอากาศยานนานาชาติเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่และทำ หนังสือถึง รมว.คมนาคม เพื่อเรียนให้ทราบถึงความอันตรายของควันบุหรี่ และขอให้เปิดไฟเขียวให้ สธ.บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

 

“นักสูบเขาจะทราบดีว่าถ้าต้องเดินทางไกล การเปลี่ยนเครื่องบินจะไม่สามารถออกไปสูบบุหรี่ข้างนอกได้ เขาจะมีนิโคตินเคี้ยว เป็นหมากฝรั่ง บนเครื่องก็มีขาย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลกับคนกลุ่มนี้” นพ.หทัย กล่าว

 

ด้าน รศ.ดร.นิภาพรรณ กังสกุลนิติ อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ตนและคณะได้ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงปริมาณของควันบุหรี่มือ 2 ในท่าอากาศยานนานาชาติของประเทศไทย 4 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต และเชียงใหม่ โดยเก็บตัวอย่างในห้องพักสูบบุหรี่ บริเวณใกล้ประตูห้องพักสูบบุหรี่ และบริเวณปลอดบุหรี่  112 ตัวอย่าง พบว่า ในห้องพักสูบบุหรี่มีควันบุหรี่มือ 2 ในปริมาณ 773.4 ไมครอนสูงกว่าท่าอากาศยานในประเทศสหรัฐฯซึ่งอยู่ในระดับ 188.7 ถึง 4 เท่า ส่วน บริเวณใกล้ประตูห้องพักสูบบุหรี่มีควันบุหรี่มือ 2 ในปริมาณ 54.6 ไมครอน สูงกว่าค่ามาตรฐานที่ประเทศไทยกำหนดไว้ไม่เกิน 50 ไมครอน และบริเวณปลอดบุหรี่ยังพบควันบุหรี่มือ 2 ในปริมาณ 14.3 ไมครอน เนื่องจากมีการเปิดประตูห้องพักสูบบุหรี่อยู่เสมอ และบางครั้งยังไม่ปิดประตู ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะมีท่าอากาศยานนานาชาติปลอดบุหรี่ นอกเหนือจากห้องพักผู้สูบบุหรี่เพื่อสุขภาพของผู้ที่เดินทาง และเจ้าหน้าที่ในท่าอากาศยานทกคน

 

“นอกจากนี้ยังพบว่ามีควันบุหรี่มือ 3 ซึ่งจะติดมาตามตัว ผม เสื้อผ้า ถ้าเกิดมาอุ้มเด็ก หรือแม้แต่ผู้โดยสารที่นั่งใกล้ๆ ก็จะได้รับสารอันตรายนี้ด้วย” รศ.ดร.นิภาพรรณ กล่าว

 

ผศ.ดร.นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ อาจารย์ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากผลการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเมื่อปี 2555 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 200 คน ทั้งผู้ที่สูบและไม่สูบบุหรี่ พบว่า 58% ของผู้ที่สูบบุหรี่สนับสนุนให้ท่าอากาศยานเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ 100% ในจำนวนนี้พบว่า 65.5% ยืนยันที่จะกลับมาเที่ยวที่ประเทศไทยอีก ครึ่งหนึ่งคือผู้ที่สูบบุหรี่ มีเพียง 12% เท่านั้นที่ระบุว่าหากออกเป็นกฎหมายจริงๆ จะไม่กลับมาเที่ยวที่ประเทศไทยอีก ทั้งนี้จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ออก มาบอกว่าหากออกกฎหมายกำหนดให้ท่าอากาศยานปลอดบุหรี่ 100% ออกมาจะส่งผลจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศลดลงจึงถือว่าไม่ถูกต้องนัก แท้จริงแล้วควรผลักดันให้ทุกแห่งเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่อย่างแท้จริง

 

ด้าน รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ท่าอากาศยานทั่วโลกขนาดใหญ่หลายแหล่งตื่นตัวในการเป็นท่าอากาศยานปลอดบุหรี่ แล้ว แต่จากผลการศึกษาท่าอากาศยาน 4 แห่งในประเทศไทยพบว่าบริเวณห้องสูบบุหรี่มีระดับควันบุหรี่มือ 2 สูงมาก บ่งชี้ถึงภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้เดินทาง เพราะควันบุหรี่สามารถกระจายไปได้ถึง 30 ฟุต จึงจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการยกเลิกการใช้ห้องพักสูบ บุหรี่ภายในอาคาร และกำหนดเป็นท่าอากาศยานปลอดบุหรี่“การสำรวจพบว่าที่ห้องพักผู้โดยสารระหว่างประเทศท่าอากาศยานบางแห่งยังเปิด ห้องสูบบุหรี่ในห้องอาหารเลยถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย” รศ.ดร.เนาวรัตน์ กล่าว

 

ขอขอบคุณ
ที่มาข้อมูลและภาพประกอบ
http://www.dailynews.co.th/politics/202762