วิจัยเสริมทักษะวิชาชีพ

โดย : กานต์ดา บุญเถื่อน

การสอนในห้องอย่างเดียวไม่พอ ครูต้องเรียนรู้เพื่ออัพเดทความสามารถของตัวเองให้ทันโลกอยู่เสมอ เพื่อมีความรู้ไปสอนผู้เรียนไม่รู้จบ

นอก เหนือจากการเป็น ‘อาจารย์‘ ของ ผศ.ศิศีโรตม์ เกตุแก้ว เขายังสวมหมวก ‘นวัตกร’ สร้างสรรค์นวัตกรรมกำจัดกลิ่นสำหรับครัวเรือน เพื่อให้คนไทยมีทางเลือกในราคาสบายกระเป๋าอีกด้วย

:จำตำราไม่สู้ลงมือทำ

ผศ.ศิ ศีโรตม์ เกตุแก้ว อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า การเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นตำราเล่มเดิม สอนซ้ำไปซ้ำมาในทุกๆเทอม ไม่ช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ทั้งต่อผู้เรียนและผู้สอน แต่ผู้สอนจำเป็นต้องลงมือวิจัยตลอดเวลาเพื่อให้ตัวเองเกิดการพัฒนาและมี เทคนิคใหม่ๆไปสอนนักศึกษาได้ไม่รู้จบ

“ผมใช้เวลานอกเหนือจากการเป็น อาจารย์นั่งประดิษฐ์ผลงานจากความถนัดในด้านวิศวกรรม และค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่ออินเทอร์เน็ต หนังสือวารสาร หรือการค้นคว้าขึ้นเอง เพื่อให้ความสามารถส่วนตัวที่มีก้าวทันโลกไม่ใช่แค่ก้าวตามโลกเพียงอย่าง เดียว ซึ่งการคิดและทำอย่างนี้ไม่เพียงทำให้มีองค์ความรู้และเทคนิคใหม่ๆไปสอนนัก ศึกษา แต่ยังได้นวัตกรรมที่พร้อมขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้ด้วย”อาจารย์จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าว

เครื่องกำจัดกลิ่นและกรองอากาศเป็นนวัต กรรมเครื่องแรกที่เกิดขึ้นราวปี 2549 หลังจากเข้ามาเป็นอาจารย์สอนที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะเกิดแนวความคิดว่าน่าจะลองประดิษฐ์อะไรขึ้นมา เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ส่วนตัวและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนนัก ศึกษาในห้องได้ด้วย

เขาใช้เวลาพัฒนาเครื่องกำจัดกลิ่นและกรองอากาศ อยู่ร่วมปี จนได้เครื่องต้นแบบที่มีมีศักยภาพในการผลิตก๊าซโอโซนออกมาต่อเนื่องที่ 0.01 PPM ซึ่งช่วงแรกของการทำตลาดจะมุ่งไปที่กลุ่มคนรู้จักและการแนะนำปากต่อปาก กระทั่งเปิดเป็นบริษัทเล็กๆขึ้นมาช่วงเวลาหนึ่ง แต่ก็ปิดลงไป

“อุปสรรค การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องทุนในการพัฒนาโดยตรง แต่อยู่ที่แรงงานที่เราจะจ้างมาผลิตเครื่องกำจัดกลิ่นและกรองอากาศมากกว่า เพราะหากฝีมือไม่เป็นอย่างที่คาดหวังจะทำให้ชิ้นงานที่ผลิตและส่งไปขายไร้ คุณภาพซึ่งผู้บริโภคไม่ซื้อหรือแนะนำต่อ และทำให้ธุรกิจไปต่อไม่ได้เช่นกัน”นวัตกร เจ้าของรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2556 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ให้แง่คิด

:ธุรกิจพอเพียง

เขา เลือกจะปิดกิจการผลิตเครื่องกำจัดกลิ่นและกรองอากาศในรูปแบบบริษัทลง ไม่ได้หมายความว่าจะเลิกล้มความเป็นนวัตกร แต่เขานำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาต่อยอดเป็นเครื่องกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยสนาม ไฟฟ้าโคโรนาจนได้นวัตกรรมที่พร้อมตอบโจทย์ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นในปี 2552 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างทำการตลาดให้กับงานวิจัยดังกล่าว

นักวิจัย กล่าวว่า เครื่องกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยสนามไฟฟ้าโคโรนาที่พัฒนาขึ้นเป็นการนำจุดอ่อนของ เครื่องต้นแบบมาต่อยอดจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งเรื่องขนาดที่เล็กลง น้ำหนักเบาลงเพื่อให้เคลื่อนย้ายสะดวก การทำความสะอาดที่ง่ายขึ้น การประหยัดพลังงานจากการควบคุมระดับการผลิตก๊าซโอโซนถึง 15 ระดับ รวมถึงเป็นการนำเส้นลวดโคโรนาที่ไม่ใช้งานแล้วในเครื่องถ่ายเอกสารมาต่อยอด ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าได้อีกด้วย

“การต่อยอดผลงานวิจัยชิ้นล่า สุด มีกลุ่มเป้าหมายเป็นสถานพยาบาล บ้านเรือนที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ที่มีปัญหาเรื่องการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ รวมถึงยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรคในกลุ่มแบคทีเรียและไวรัส”ดร.มัลลิกา เกตุแก้ว อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ผู้ช่วยวิจัย กล่าวและว่า แผนของครื่องกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยสนามไฟฟ้าโคโรนา ในตอนนี้ไม่เน้นว่าต้องเปิดขายในรูปแบบบริษัท แต่จะเป็นธุรกิจพอเพียงที่ค่อยๆผลิตตามออเดอร์ลูกค้า รวมถึงพัฒนารูปทรงของเครื่องและความสวยงามตามความต้องการของผู้บริโภค

ผู้ ช่วยวิจัย กล่าวอีกว่า การจะผลิตอะไรก็แล้วแต่ในเชิงการค้า เราจะต้องรู้ว่าตอนนี้คู่แข่งก้าวไปถึงไหนแล้ว และสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคืออะไร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราตอบโจทย์ผู้บริโภคและนำหน้าคู่แข่งให้ได้ ซึ่งที่มองเห็นในตอนนี้เทรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาแรงจะเป็นเรื่องของการ ประหยัดพลังงานเป็นหลัก ทำให้ทีมวิจัยก็เน้นใช้ชิ้นส่วนที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) เพื่อให้ได้เครื่องที่มีคุณภาพในราคาสบายกระเป๋า ลดการใช้เครื่องนำเข้าที่ไม่เหมาะกับสภาพอากาศในบ้านเรา อีกทั้งการซ่อมบำรุงทำได้ยากกว่าด้วย สามารถเข้าไปติดตามผลงานของนวัตกรนักวิจัยได้ที่ Facebook : Sti Cleaner

ขอขอบคุณ
ที่มาข้อมูลและภาพประกอบ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20130226/492021/วิจัยเสริมทักษะวิชาชีพ.html