โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กรกฎาคม 2556 13:52 น.
นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เผยนวัตกรรมกำจัดมอดและด้วงงวงข้าวด้วยก๊าซไนโตรเจน ซึ่งใช้หลักการทำให้ภายในบริเวณเก็บข้าวมีออกซิเจนต่่ำด้วยการอัดก๊าซ ไนโตรเจนซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อยที่มีอยู่มากในอากาศทั่วไป เพื่อให้มอดและด้วงงวงข้าวขาดอากาศหายใจ ในอากาศทั่วไปมีไนโตรเตนประมาณ 77% และออกซิเจน 21% ซึ่งระบบกำจัดมอดนี้ใช้วิธีดูดอากาศภายในห้องเก็บข้าวสารออกมาผ่านเครื่อง ดูดซับออกซิเจน และปล่อยก๊าซที่เหลือกลับเข้าไป ซึ่งเป็นขึ้นตอนที่ใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้เหลือออกซิเจนต่ำกว่า 0.5% และมีไนโตรเจนในระบบ 99.5% ซื้อมอดและด้วงตัวเต็มวัยจะตายภายใน 1-2 วัน แล้วตัวอ่อนและไข่จะตายตาม ส่วนในระยะดักแด้จะตายช้าสุดคือใช้เวลา 7 วัน ทั้งนี้ สนช.ได้ให้การสนับสนุน บริษัท สยาม วอเตอร์เฟลม จำกัด พัฒนาระบบดังกล่าวเมื่อ 3 ปีที่แล้วผ่านโครงการแปลงเทคโนโลยีเป็นทุน และโครงการนวัตกรรมดี ไม่มีดอกเบี้ย เป็นเงิน 1.13 ล้านบาท โดยมีการพัฒนาระบบ 2 ช่วง คือ ช่วงพัฒนาเครื่องต้นแบบผลิตก๊าซไนโตรเจน ซึ่งได้ประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจ จึงพัฒนาเป็นเครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจนเพื่อใช้ในระบบจริง ซึ่งทางบริษัทได้ลงทุนประมาณ 26 ล้านบาท และมีการทดสอบระบบที่ บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด ในระบบยืดอายุผลไม้ของเนเธอร์แลนด์จะทำให้ออกซิเจนในระบบเก็บลดลง และมีไนโตรเจนเพิ่มขึ้น ทำให้ผลไม้หายใจช้าลง ยืดอายุการเก็บได้มากขึ้น ส่วนระบบกำจัดมอดและด้วงนำหลักการเดียวกันมาใช้ แต่ลดระดับออกซิเจนให้ต่ำลงจนไม่เหลือสำหรับหายใจ สำหรับระบบกำจัดมอดและด้วงงวงข้าวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือ การใช้สารเมทิลโบรไมด์ ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วได้เลิกใช้ตั้งแต่ปี 2548 ส่วนไทยจะเลิกใช้ในปี 2558 โดยวิธีนี้กำจัดได้ในเวลา 1 วันและมีต้นทุนสารเคมีเพียงตันละ 2-5 บาท การใช้ฟอสฟีนใช้เวลากำจัด 5-7 วัน มีต้นทุนสารเคมีตันละ 12 บาท และการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ใช้เวลากำจัด 15 วัน มีต้นทุนค่าก๊าซตันละ 110 บาท ด้านนายวัลลภ พิชญ์พงศา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด กล่าวว่าทางบริษัทผลิตข้าวอินทรีย์ส่งออกเป็นเวลากว่า 20 ปี ซึ่งในการผลิตต้นน้ำตั้งแต่การเพาะปลูกของชาวนาจนถึงการส่งออกไม่สามารถใช้ สารเคมีสังเคราะห์ได้ ที่ผ่านมาทางบริษัทใช้การรมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ยอมรับได้ในวงการข้าว อินทรีย์ระดับโลก แต่เป็นวิธีที่มีราคาแพง และใช้เวลานาน แต่ในการทดสอบรมก๊าซไนโตรเจนพบว่าใช้เวลาลดลงครึ่งหนึ่ง และถูกกว่าเกิน 10 เท่า อย่างไรก็ดี นายสัมฤทธิ์ยอมรับว่าระบบกำจัดมอดและด้วงงวงข้าวด้วยก๊าซไนโตรเจนนี้มีต้น ทุนที่สูงมากสำหรับการจำกัดในข้าวทั่วไป แต่เป็นทางเลือกสำหรับข้าวอินทรีย์ที่ไม่สามารถใช้สารเคมีได้ โดยนอกจากการจำหน่ายระบบแก่ผู้สนใจแล้ว ทางบริษัทยังมีแนวคิดในการให้เช่าระบบหรือรับจ้างกำจัดมอดและด้วงงวงข้าว ด้วย สำหรับต่างประเทศที่มีระบบจำกัดมอดและด้วงงวงข้าวในข้าวด้วยก๊าซ ไนโตรเจนมีการพัฒนาแล้วในเนเธอแลนด์ ซึ่งมีการส่งออกเทคโนโลยีแก่ประเทศในตะวันออกกลาง รวมถึงดูไบ อินเดียและปากีสถาน แต่ราคาเทคโนโลยีของเนเธอร์แลนด์สูงกว่าเทคโนโลยีที่บริษัทสยามวอเตอร์เฟลม พัฒนาขึ้นมาถึง 4 เท่า |
||||
|
||||
|
||||
|
ขอขอบคุณ
ที่มาข้อมูลและภาพประกอบ
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000087605