![]() |
![]() |
|
![]() |
![]() |
![]() |
ผลจากนโยบายรถยนต์คันแรกทำให้ท้องถนนในประเทศไทยมีรถยนต์ออกมาวิ่งเพิ่มขึ้นกว่า 1.5 ล้านคัน กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบด้านปัญหาจราจรอย่างเด่นชัดที่สุด สิ่งที่สูญเสียไปกับรถยนต์คือน้ำมัน และก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
“ลูกระนาดถนนผลิตไฟฟ้า” เหมือนจะเป็นทางออกที่จะช่วยทดแทนพลังงานที่สูญเสียจากรถยนต์ลงไปได้ นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นการคิดค้นของนร.ม.4 รร.ปรางค์กู่ ต.ปรางค์กู่ จ.ศรีษะเกษ 3 คนได้แก่ ชนะศักดิ์ แสงสอน แทนไท บุญลือ และสมเกียรติ์ ไพชนะ ที่มองต้องนำพลังงานจากการสัญจรมาใช้ประโยชน์
ชนะศักดิ์ เล่าถึงหลักการทำงานของลูกระนาดถนนผลิตไฟฟ้าว่า เริ่มต้นให้รถวิ่งเหยียบลูกระนาดที่ด้านในประกอบด้วยแกนเหล็กหุ้มด้วยยางรถจักรยานเก่า น้ำหนักของรถจะกดลูกระนาดลง แรงกดจะไปหมุนฟันฟืองให้หมุน แล้วนำพลังงานส่งไปที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทุกครั้งที่รถยนต์มาเหยียบลูกระนาดจะเกิดพลังงานไฟฟ้า โดยทดลองแล้วว่ารถยนต์ 1 คันจะเหยียบลูกระนาด 2 ครั้งเท่ากับการเก็บประจุไฟได้เท่ากับ 28 แอมแปร์โดยประมาณ ต้องใช้รถวิ่งเหยียบ 218 คันแบตเตอร์รี่จะเต็ม ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าไปใช้งานได้กับคอมพิวเตอร์ประมาณ 30 นาที ซึ่งพื้นที่ที่เหมาะกับการติดตั้งลูกระนาดคือ ต้องเป็นช่วงถนนที่ใช้ความเร็วต่ำเช่น บริเวณด่านเก็บเงินบนทางด่วน
“โครงการนี้ไม่ได้ผลิตไฟฟ้าให้ได้มากแต่ให้เป็นแม่แบบในการผลิตกระแสไฟฟ้าว่าเราสามารถเอาประโยชน์จากรถยนต์มาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีกว่าที่จะให้รถยนต์เอาเปรียบเรา”ชนะศักดิ์บอกถึงที่มาของแนวคิด
ผลงานที่ตอบโจทย์เรื่องการใช้พลังานอย่างยั่งยืนของ “ลูกระนาดถนนผลิตไฟฟ้า” ทำให้สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในการประกวด โครงการนวัตกรรมเพื่อโลกสีเขียว 2556 กับค่ายต้นกล้าพลังงาน ปีที่ 8 กระทรวงพลังงาน เพื่อสร้างขบวนการส่งเสริมความรู้และเปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยโดยเฉพาะเยาวชนเข้า ถึงองค์ความรู้ที่สำคัญด้านพลังงานรวมถึงเวทีฝึกฝนด้านเทคโนโลยี ผ่านการส่งสิ่งประดิษฐ์ด้านพลังงานเข้าประกวด สำหรับเยาวชนที่ส่งผลงานเข้าประกวดและได้รับการคัดเลือก มีกิจกรรมทัศนศึกษาไปตามสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน นายชุมพล ฐิตยารักษ์ รองปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวว่า นอกจากนร.นศ.ที่เข้ามาร่วมค่ายโครงการต้นกล้าพลังงานยังได้จัดให้ความรู้ เรื่องพลังงานกับครูอาจารย์ของสถานศึกษาที่เด็กได้รับการคัดเลือกเข้าประกวด เพื่อนำความรู้ด้านพลังงานไปพัฒนาด้านการเรียนการสอนและชี้แจงให้สังคมได้ เข้าใจเรื่องพลังงานของประเทศ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงศึกษาได้พัฒนาหลักสูตรเรื่องพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงานทดแทน พลังงานเพื่อการคมนาคม
“โครงการนี้เป็นได้ฝึกคิดแล้วสร้างนวัตกรรมสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำ วันได้ การฝึกนร.ให้คิดเป็นการศึกษาที่ต้องทำในต่างประเทศที่เจริญแล้วเน้นเอาศาสตร์ต่างๆมาประยุกต์ใช้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์มาแอพพลายเข้าด้วยกันพัฒนาเป็นนวัตกรรมถือเป็นการศึกษาสมัยใหม่ เ สำหรับคนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยที่มาเข้า ร่วมได้แก่ม.สงขลานครินทร์ ม.ขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สามารถได้โควต้าเข้าไปศึกษาต่อได้ ถือเป็นโอกาสได้เข้าเรียนในสาขาที่เขาชอบโดยเฉพาะสาขาด้านวิศวกรรม”
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ
|