สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
"What do you think I am" ประโยคคำถามของสเตฟานออฟริชเชอร์ (Stefan Aufrichter) เมกเกอร์ชาวเยอรมันที่ติดไว้กับถ้วยเซรามิกสีขาวเพื่อเชื้อเชิญให้เหล่าเมกเกอร์ไทยผู้ชนะจากโครงการประกวด Enjoy Science: Let’s print the world ลองคิดว่าผลงานชิ้นนี้คืออะไรได้บ้าง?
ลำโพงนาฬิกาที่ปลูกต้นไม้ที่แขวนของใช้ต่างๆถูกวางโชว์เป็นคำตอบและเป็นเพียงตัวอย่างไอเดียในการดัดแปลงถ้วยเซรามิกสีขาวแสนธรรมดาให้กลายเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของแต่ละบุคคลตามแบบฉบับ “วัฒนธรรมเมกเกอร์” เท่านั้นและนี่เป็นเพียง 1 ใน 120 ผลงานเจ๋งๆของเมกเกอร์เยอรมันที่นำมาประชันกันในงานเมกเกอร์แฟร์เบอร์ลิน (Maker Faire Berlin) ประเทศเยอรมนี
ดร.นำชัยชีววิวรรธน์รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์สวทช. กล่าวว่าเพื่อสนับสนุนเด็กไทยให้มีความคิดสร้างสรรค์บริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัดร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดทริปพา 4 เมกเกอร์ไทยผู้ชนะโครงการประกวด Enjoy Science: Let’s print the world เข้าชมงานเมกเกอร์แฟร์เบอร์ลินที่ประเทศเยอรมนีซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคมที่ผ่านมาเพื่อเปิดโอกาสให้เมกเกอร์ไทยได้เรียนรู้ถึงแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆสำหรับใช้ต่อยอดไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมไทยเพื่อคนไทยในอนาคต
“การไปดูผลงานของเมกเกอร์ชาวเยอรมันในงานเมกเกอร์แฟร์เบอร์ลินทำให้เมกเกอร์ไทยได้เห็นแนวคิดและความนิยมของเมกเกอร์ในแถบยุโรปซึ่งจะเห็นว่ามีผลงานที่เป็นหุ่นยนต์จำนวนมากและมีรูปแบบที่หลากหลายงานอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นชัดเจนคือเครื่องพิมพ์ 3 มิติและพอลิเมอร์ที่ใช้ในการพิมพ์ซึ่งมีหลายแบบน่าตื่นตาตื่นใจเช่นพลาสติกรูปแบบใหม่ๆที่มีสีสันหลากหลายและยืดหยุ่นสูงเมื่อพิมพ์ออกมาแล้วสามารถบิดและเปลี่ยนกลับเป็นรูปแบบเดิมได้ไม่เสียหายน่าจะนำมาประยุกต์กับงานต่างๆได้มาก
นอกจากนี้แล้วคณะเมกเกอร์ยังได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการประดิษฐกรรม (Fabrication Laboratory) หรือ FAB LAB สถานที่ที่ให้เมกเกอร์มาสร้างชิ้นงานโดยมีเครื่องมือที่ทันสมัยและผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำอีกทั้งยังได้เยี่ยมชมออตโตบ๊อก (OTTOBOCK) บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อผู้พิการรวมถึงพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจหลายแห่งเช่นศูนย์วิทยาศาสตร์สเปกตรัม (Science Center Spectrum) และศูนย์วิทยาศาสตร์เกม (Game Science Center) ด้วย” ดร.นำชัยกล่าว
นางสาวศิริลักษณ์สังวาลย์วรวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เจ้าของรางวัลชนะเลิศประเภทนักเรียนนักศึกษาจากผลงานปะการังเทียมกล่าวว่าการได้มางานเมกเกอร์แฟร์เบอร์ลินทำให้ได้แรงบันดาลใจและไอเดียใหม่ๆมาปรับไปใช้กับงานค่อนข้างเยอะเช่นถ้วยเซรามิกที่นำไปใช้ทำนาฬิกาลำโพงวิธีคิดเขาน่าสนใจมากในการทำผลิตภัณฑ์และที่ชอบมากคืออุปกรณ์ที่ชื่อ Okinesio ซึ่งใช้เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเวลาที่เราดึงโดยใช้แรงหรือน้ำหนักที่ต่างกันแสงที่ฉายลงบนฉากก็จะมีรูปแบบที่ต่างกันด้วยเป็นงานแบบ interactive น่าสนใจและคิดว่าจะลองมาปรับใช้กับงานที่ทำอยู่
นางสาวเสาวคนธ์ภุมมาลีเจ้าของรางวัลชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไปจากผลงานทศกัณฑ์กล่าวว่าผลงานที่ประทับใจคือโรบอตซู (Robot zoo) หุ่นยนต์แมลงที่ตัวโครงหลักทำจากกระดาษแข็งเด็กๆเห็นก็จะรู้สึกว่าน่าจะทำได้นะแค่เอากระดาษแข็งมาใส่อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปและผลงาน Avakai ตุ๊กตาไม้ที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและวิธีการเล่นแบบดั้งเดิมของเด็กๆเช่นการเล่นซ่อนหานอกจากนี้ยังได้เห็นเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ก้าวหน้าไปมากสามารถพิมพ์ออกมาได้หลายวัสดุเช่นไม้เงินทองทองแดงเซรามิกทำให้ได้สัมผัสชิ้นงานจริงในงานนี้เห็นแล้วก็มีแรงกระตุ้นอยากทำงานพิมพ์ 3 มิติจากวัสดุเหล่านี้บ้างมันช่วยเปิดกรอบการคิดงานต่อยอดไอเดียได้เยอะเลยทีเดียว
นายสุพัฒสังวรวงษ์พนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือผู้ช่วยพัฒนาผลงานปะการังเทียมกล่าวว่าโครงการนี้ช่วยเปิดกว้างให้เราได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเห็นนวัตกรรมมากมายที่หาดูไม่ได้ในเมืองไทยครับในงานมีหุ่นยนต์ผลงานพิมพ์ 3 มิติเยอะมากผมชอบเครื่องสแกน 3 มิติซึ่งเขาประดิษฐ์ตัวสแกนขึ้นเองโดยพัฒนาให้ฐานหมุนได้แล้วใช้กล้องคิเนคจับภาพสแกน 3 มิติและแปลงเป็นไฟล์ที่พร้อมพิมพ์เป็นชิ้นงาน 3 มิติได้เลยเห็นแล้วก็อยากศึกษาเพิ่มเติมเพื่อกลับไปพัฒนาต่อเป็นผลงานเจ๋งๆสักชิ้นไปโชว์ในงานเมกเกอร์แฟร์ของประเทศไทยในปีหน้าครับ
นางสาวทิพย์สิริฤทธิกุลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือผู้ช่วยพัฒนาผลงานเครื่องนวดเท้ากล่าวว่าที่ชอบมากคือคือ "หุ่นยนต์พ่นไฟ" ที่ชื่อว่า "เคลวิน" มีความสูง 9 เมตรกว้าง 5 เมตรสร้างขึ้นจากตู้คอนเทนเนอร์และใช้ไฮโดรลิกในการควบคุมให้ขยับได้ก่อนโชว์จะเห็นเหมือนตู้คอนเทนเนอร์สี่เหลี่ยมธรรมดาจากนั้นก็ค่อยๆแปลงร่างจนกลายเป็นหุ่นยนต์และพ่นไฟออกจากมือได้ตื่นตาตื่นใจมากนอกจากนี้ยังมีเปียโนหุ่นยนต์เครื่องทอผ้าที่สำคัญเลยคือการได้ไปเยี่ยมชม FAB LAB หน่วยงาน OTTOBOCK และพิพิธภัณฑ์ต่างๆทำให้เราได้เห็นนวัตกรรมมากมายซึ่งช่วยต่อยอดสานฝันเราได้มากได้เห็นเทคโนโลยีได้แนวคิดได้มุมมองใหม่ๆที่จะนำกลับมาใช้พัฒนาตัวเองต่อไปค่ะ
สอบถามรายละเอียดและภาพเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์สวทช. โทร 0-2564-7000 ต่อ 71725 (ชนานันท์)
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ