สกว.หนุนวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรม ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจโลก

สกว. จัดประชุมเวที (TRF Forum) เรื่อง อนาคตภาคอุตสาหกรรมไทย: เผชิญความท้าทาย   สู่การขยายตัวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนนำเสนอข้อมูลและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากงานวิจัย

เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. จัดประชุมเวที สกว. (TRF Forum) เรื่อง อนาคตภาคอุตสาหกรรมไทย: เผชิญความท้าทายสู่การขยายตัวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน”  โดยการอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักวิจัยและผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อนำเสนอข้อมูลข้อค้นพบและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากงานวิจัยในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทย

โอกาสนี้ ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. และคณะผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ  รวมทั้ง รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ และ ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์  ม.ธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้ประสานงานชุดโครงการ ความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทยภายใต้การสนับสนุนของ สกว.

โดยผู้อำนวยการ สกว. กล่าวเปิดการประชุมว่า ที่ผ่านมา สกว.ได้ขับเคลื่อนงานวิจัยด้านอุตสาหกรรมจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้ขอทุนวิจัยในหัวข้อต่างๆ อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ความท้าทายในการแข้งขันทั้งในระดับภูมิภาค ปัญหาเรื่องแรงงาน อนาคตของอุตสาหกรรมไทย และเรื่องการบริหารจัดการกับมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ ฯลฯ

ด้วยเหตุนี้ ชุดโครงการวิจัย ความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทยจึงถูกพัฒนาขึ้น เพื่อทำความเข้าใจประเด็นความท้าทายหลักๆของภาคอุตสาหกรรมไทย และสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เน้นให้เกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมไทย

            พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวถึงความสำคัญในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมว่า ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือ เอกชน หลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุสาหกรรมและการส่งออก อย่างกรณีบริษัทยักษ์ใหญ่ส่งออกปลากระป๋อง เลือกประเทศไทยและนักวิจัยไทยให้เป็นศูนย์การวิจัย เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยงบประมาณมากถึง 300-400 ล้านบาท รองรับการเติบโตอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

            จากนั้น ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์  นำเสนอผลการศึกษา ระยะที่ 1 ว่า ในอดีตภาคอุตสาหกรรมเป็นกลจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของไทย ช่วงปี 2513-2539 เป็นกรณีตัวอย่างที่ธนาคารโลกหยิบยกมาเชิญชวนประเทศอื่นๆให้เดินรอยตาม

แต่วันนี้อุตสาหกรรมไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันอย่างรุ่นแรง และกลยุทธ์การพัฒนาที่ผ่านมาไม่น่าจะไปสู่การพัฒนาที่ยังยืน เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของความสามารถในการส่งออกของภาคอุตสาหกรรมไทยที่ผ่านมายังคงทำได้ในระที่น่าพอใจ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต Composition changes ทำให้ภาคการผลิตพึ่งพาตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งการพึ่งพาตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่สูง ได้เปลี่ยนรูปแบบมาพึ่งพาผ่าน ProductionNetwork โดยการผลิตมุ่งไปใช้เครื่องจักรมากขึ้น Capital Intensive ไม่ใช้พึ่งพาแรงงานราคาถูกอย่างเดียวตามที่มีความเชื่อกัน  แต่การทดแทนคนด้วยเครื่องมือมีความแตกต่างกันแต่ละอุตสาหกรรม ถึงอย่างไรแล้วอุตสาหกรรมไทยยังคงครองความเป็นอันดับ 1 ในตลาดโลก เช่น กุ้งแปรรูป ปลาทูน่ากระป๋อง

ขณะที่ รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มพึ่งพาเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นเพราะแม้ในภาพรวมเอ็กโออาร์จะลดลง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบภายในของภาคอุตสาหกรรม ไม่ใช่เป็นผลจากการที่ภาคอุตสาหกรรมหันมาพึ่งตลาดภายในเพิ่มขึ้น ดังนั้นความท้าทายประการแรก คือเราจะบริหารจัดการอย่างไรในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกอึมครึมอยู่ในปัจจุบัน

ดังนั้นเราควรที่จะใช้เวลาที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวหันมาปรับปรุงยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง โดยการปฎิรูปทางด้านกฎหมาย ควบคู่ไปกับการยกระดับการผลิต คือ การลงทุน Solf Infrastructure โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของศูนย์ทดสอบ ซึ่งกระจายอยู่ตามหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันต่างๆ และยังไม่มีการจดทะเบียนรับรองให้เป็นห้องทดสอบมาตรฐาน

นอกจากนี้ ผู้ประสานงานชุดโครงการ ได้กล่าวถึงท่าทีนโยบายเรื่องการค้าเสรี (FTA) ว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลเร่งทำข้อตกลงการค้าเสรีเป็นอย่างมาก โดยหวังว่าเมื่อลงนามแล้วจะช่วยกระตุ่นการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งผลของการกระตุ้นการค้าและการลงทุนขั้นพื้นฐาน

เพราะตามแนวคิดเรื่องกฎว่าด้วยอุปสงค์ คือ เมื่อราคาสินค้าไทยถูกลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง  ที่ไม่ได้ลงนามการค้าเสรี  ไทยก็จะสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งก็จะดึงดูดสินค้าอื่นๆตามมา และทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการโดยด่วน เพราะหากช้าไปกว่านี้ก็อาจตกขบวนดังกรณี TPP ก็เป็นได้

12189583 1108407842511545 6605160264920557495 n

ขอขขอบคุณข้อมูลและภาพ

http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=8261:2015-11-03-10-39-38&catid=44:2013-11-25-06-49-47&Itemid=369